กฎหมายคืออะไร

กฎหมาย คืออะไร

        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ กำหนดคำนิยามความหมายของคำว่า “กฎหมาย” ไว้ว่า “กฎหมาย” (กฎ) น. กฎ ที่สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจาก จารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อ ใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ
เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ
        จากข้อความในคำนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทุกถ้อยคำ ทุกข้อความ ที่ผู้เขียนขีดเส้นใต้ไว้ ล้วนมีความหมายที่สามารถนำมาแปลและอธิบายขยายความแล้วเกิดความเข้าใจได้ดีทั้งสิ้น ถ้าเราหยิบยกเอาถ้อยคำแต่ละคำที่เป็นคำศัพท์ภาษาหนังสือไทย ขึ้นมาพิจารณาและค้นหาความหมาย จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ จะเห็นว่า ราชบัณฑิตสถาน ได้ให้คำนิยามคำว่า “กฎหมาย” ไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทุกแง่มุม ซึ่งอาจแยกเป็นหัวข้อเรื่องให้วิเคราะห์ความหมายได้ ๔ หัวข้อ เพื่อทราบความหมายโดยละเอียดของคำว่า “กฎหมาย” ดังนี้

        (๑).กฎหมายเป็น .กฎ (ซึ่งจะต้องหาความหมายของคำว่า “กฎ” ต่อไป)

        (๒). ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย ได้แก่ สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐเท่านั้น (

        (๓) ประเภทของกฎหมาย

               กฎหมายมี ๓ ประเภท คือ .

               (ก) กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ (กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ)

                (ข).กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (กฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

                 (ค).กฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด (กฎหมายอาญา)

       (๔).กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ